วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

photo

https://plus.google.com/u/0/photos/115118966524200573446/albums

แนะนำตัว


ร่ายโบราณและร่ายยาว



 ร่ายโบราณ
รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายโบราณ

เช่น

                   ประชากรเกษมสุข                  สนุกทั่วธรณี                  พระนครศรีอโยธยา

มหาดิลกภพ                                               นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์
อุดมยศโยคยิ่งหล้า                                     ฟ้าฟื้นฝึกบูรณ์

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                   ร่ายโบราณ  มีปรากฏอยู่ในวรรคดีโบราณคล้ายกับร่ายสุภาพ  คือ  บทหนึ่งไม่จำกัดจำนวนวรรค  แต่ไม่ต่ำกว่า วรรค  วรรคมี 5 – 8 คำ  มีสัมผัสส่งจากวรรคหน้าไปยังคำที่ 1 – 2 – 3 ของวรรคต่อไป  แต่ไม่ต้องลงท้ายด้วยโคลงสองเหมือนร่ายสุภาพ  คือ  จบโดยไม่มีวิธีลงท้ายใดๆอาจมีคำสร้อย คำตอนสุดท้ายหรือสลับวรรคก็ได้ 

ร่ายยาว

รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายยาว

เช่น

                   กรุงเทพมหานคร           อมรรัตนโกสินทร์         มหินทราอยุธยามหาดิลก

ภพ  นพรัตนราชธานีบุรีรมย์             อุดมนิเวศน์มหาสถาน   บรมพิมานอวตารสถิต
ศักรทิตติยวิษณุกรรมประสิทธ์
                   (นามกรุงเทพฯ)

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                         คณะ  ร่ายยาวมิได้บังคับจำนวนคำ  คือ  มีคณะไม่แน่นอนในวรรคหนึ่ง  อาจมีจำนวนคำตั้งแต่ 6 – 7 คำ  ไปจนถึง 15 คำ  แล้วแต่ความยาวและช่วงการหายใจครั้งหนึ่ง
                   สัมผัส  มีหลักว่าในคำท้ายของแต่ละวรรคเป็นตัวส่งสัมผัสคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปเป็นคำรับสัมผัส  ไม่แน่นอนว่าจะสัมผัสคำที่เท่าใด  ถ้าส่งวรรณยุกต์เอกก็ควรรับด้วยคำเอก  ส่งคำโทก็รับคำโท  แต่ไม่ถือเคร่งครัดนัก  คำที่รับสัมผัสอาจเป็นคำที่ 3 , ที่ 4 , คำที่ หรือคำที่ 10 แล้วแต่จะเหมาะสม
                   คำสร้อย  เนื่องจากร่ายยาวเป็นคำประพันธ์ที่นิยมแต่งเป็นกลอนสวดหรือกลอนเทศน์ใช้อ่านทำนอง  จึงมักจะมีคำสร้อยเมื่อจบบทหนึ่ง  เช่น  ฉะนี้  ดังนี้  นั้นเถิด  นั้น  แล  ด้วยประการฉะนี้  เป็นต้น  ไม่ถือเป็นเคร่งครัดจะมีหรือไม่มีก็ได้ 

ร่ายดั้น



รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายดั้น

เช่น

                   เปรมใจราษฎร               กำจรยศโยค                   ดิลกโลกอาศรัย

ชัยชยนฤเบนทรา                              ทรงเดช                        
ฤๅส่งดินฟ้าฟุ้ง                                  ข่าวขจร
(ลิลิตยวนพ่าย)

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                   คณะ  ร่ายดั้น บท  มีตั้งแต่ วรรคขึ้นไป(4  วรรคสุดท้ายคือสองบาทท้ายของโคลงดั้น)  วรรคหนึ่งมีตั้งแต่ ถึง คำ  ลงท้ายบทด้วยบาทที่ และบาทที่ ของโคลงดั้น
                   สัมผัส  มีสัมผัสส่งและสัมผัสรับเช่นเดียวกับร่ายสุภาพ  แต่เนื่องจากจำนวนคำในแต่ละคำในแค่ละวรรคไม่แน่นอน  สัมผัสจึงต้องเลื่อนตามจำนวนคำด้วย  กล่าวคือ
ถ้ามีวรรคละ 3 – 4 คำ                      ควรรับสัมผัสที่คำที่ 1 - 2
ถ้ามีวรรคละ 5  คำ                           ควรรับสัมผัสที่คำที่ 1 - 3

ถ้ามีวรรคละ คำ                            ควรรับสัมผัสที่คำที่ 1 – 4

ถ้ามีวรรคละ 7 –8 คำ                       ควรรับสัมผัสที่คำที่ 1 – 5

                         คำสร้อย  เช่นเดียวกับร่ายสุภาพ  คือ  เติมได้ คำท้ายบทหรือเติมสร้อยระหว่างวรรคก็ได้
                   ร่ายดั้น  ปรากฏในลิลิตยวนพ่าย  ทวาทศมาส  กำสรวลโคลงดั้น  แล้วต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  มีในนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อยและนารายณ์สิบปาง 

ร่ายสุภาพ

              
          ร่ายเป็นคำประพันธ์ที่เก่าแก่ชนิดของไทย  ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  ร่ายเป็นชื่อของคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง  ซึ่งไม่กำหนดว่าจะต้องมีบทหรือบาทเท่านั้นเท่านี้  จะแต่งยาวเท่าไรก็ได้  เป็นแต่ต้องเรียงคำให้คล้องจองกันตามข้อบังคับเท่านั้น  ลักษณะบังคับต่างๆใช้อย่างเดียวกับโคลงสองและโคลงสาม  ในตำราชุดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาของคุรุสภา  ให้ความหมายของคำว่าร่าย  คือคำประพันธ์ที่ส่วนมากใช้บรรยายเรื่องสัมผัสต่อกันไปทุกวรรค  จะแต่งให้สั้นยาวเท่าใด  ก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อความที่แต่ง
ซึ่งร่ายนั้นมีหลายประเภทแบ่งออกเป็น
    ร่ายสุภาพ

รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายสุภาพ

 

เช่น

                   ธ  มิอาจจะดำรง          พระองค์ท้าย  ธ  อยู่ได้          ไห้สยบซบเหนือหมอน

พระกรปิดพระพักตร์                     ไห้ร่ำรักลูกไท้

ไห้บ่รู้กี่ไห้                                      ลูกแก้วกับตน                       แม่เอยฯ

(ลิลิตพระลอ)

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                         คณะ  ร่ายสุภาพ บท  มีตั้งแต่ วรรคขึ้นไป  วรรคหนึ่งมี คำ  บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้  ลงท้ายจะต้องจบด้วยโคลงสี่สุภาพ
                     สัมผัส  จากวรรคหน้าไปยังสัมผัสรับในคำที่ 1 , 2 หรือ ของวรรคต่อไป  วรรคที่อยู่ข้างหน้าของ วรรคสุดท้าย  จะส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1 , 2 หรือ ของบาทต้นในโคลงสองสุภาพ
                   คำสร้อย  เติมได้ คำท้ายบท  เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพในร่ายสุภาพของโคลงโบราณ  มีคำสร้อยปรากฏสลับแต่ละวรรคด้วย
                   ร่ายสุภาพ  เป็นร่ายที่นิยมแต่งเพราะ  มีความไพเราะมีลีลาราบรื่น  มีจังหวะสัมผัสและระเบียบแบบแผนกว่าร่ายชนิดอื่น  ปรากฏครั้งแรกในลิลิตพระลอ

วสันตดิลกฉันท์๑๔


PDFพิมพ์อีเมล


             วสันตดิลกฉันท์ ๑๔   มีความหมายเรียกกันว่า  ฉันท์สายฝน  เป็นฉันท์ที่มีลีลางดงามที่สุดประดุจความงามของน้ำฝนในวสันตฤดู  มีความไพเราะเหมาะสำหรับแต่งเรื่องพรรณนา  ชมเชย ให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะซาบซึ้งกินใจ คณะและพยางค์    บทหนึ่งมี  ๒ บาท  ๔   วรรค  วรรคที่ ๑  มี  ๘  คำวรรคที่ ๒  มี  ๖  คำ  วรรคที่ ๓  มี  ๘  คำ  วรรคที่ ๔  มี   ๖  คำ  ๑ บทมี  ๒๘  คำ สัมผัส  มีสัมผัสในบท  ๒  แห่ง  คือ 
                ๑.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑  สัมผัสกับคำที่ ๓  ของวรรคที่  ๒         ๒.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓          สัมผัสระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบท  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไปคำครุ  ลหุ  บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด  ๑๔  คำ  คำลหุ  ๑๔  คำ           วรรคที่ ๑  และวรรคที่ ๓  มีคำครุ  ๔  คำ  คำลหุ ๔  คำ  คื่อ คำที่ ๑  ๒   ๔   ๘เป็นคำครุ  คำที่  ๓  ๕   ๖   ๗  เป็นคำลหุ         วรรคที่ ๒  และวรรคที่ ๔  เป็นครุ  ๓  คำ  คำลหุ  ๓  คำ  คำที่  ๑  ๒  ๔  เป็นคำครุคำที่  ๓  ๕  ๖  เป็นคำลหุ







ตัวอย่าง       


 อำพนพระมนทิรพระราช              สุนิวาสน์วโรฬาร์อัพภันตรไพจิตรและพา-                     
 หิรภาคก็พึงชม       เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา                น  มหาพิมานรมย์มารังสฤษฎ์พิศนิยม                           ผิจะเทียบก็เทียมทัน                                    
(  สามัคคีเภทคำฉันท์  ชิต  บุรทัต )




 ที่มา  หนังสือการแต่งคำประพันธ์  ประยอม  ซองทอง

อินทรวิเชียรฉันท์11


อินทรวิเชียรฉันท์๑๑
แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์11

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)
เสนอโทษะเกียจคร้าน            กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน                กลหกประการแถลง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2)
ราชาพระมิ่งขวัญ            สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี              มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์         กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย                ชุติโชติเชวงเวียง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3)

พวกราชมัลโดย             พลโบยมืใช่เบา

สุดหัตถแห่งเขา             ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น            พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว           ก็ระริกระรัวไหล
ที่มา: หนังสือร้อยรสพจมาน