วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ร่ายโบราณและร่ายยาว



 ร่ายโบราณ
รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายโบราณ

เช่น

                   ประชากรเกษมสุข                  สนุกทั่วธรณี                  พระนครศรีอโยธยา

มหาดิลกภพ                                               นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์
อุดมยศโยคยิ่งหล้า                                     ฟ้าฟื้นฝึกบูรณ์

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                   ร่ายโบราณ  มีปรากฏอยู่ในวรรคดีโบราณคล้ายกับร่ายสุภาพ  คือ  บทหนึ่งไม่จำกัดจำนวนวรรค  แต่ไม่ต่ำกว่า วรรค  วรรคมี 5 – 8 คำ  มีสัมผัสส่งจากวรรคหน้าไปยังคำที่ 1 – 2 – 3 ของวรรคต่อไป  แต่ไม่ต้องลงท้ายด้วยโคลงสองเหมือนร่ายสุภาพ  คือ  จบโดยไม่มีวิธีลงท้ายใดๆอาจมีคำสร้อย คำตอนสุดท้ายหรือสลับวรรคก็ได้ 

ร่ายยาว

รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายยาว

เช่น

                   กรุงเทพมหานคร           อมรรัตนโกสินทร์         มหินทราอยุธยามหาดิลก

ภพ  นพรัตนราชธานีบุรีรมย์             อุดมนิเวศน์มหาสถาน   บรมพิมานอวตารสถิต
ศักรทิตติยวิษณุกรรมประสิทธ์
                   (นามกรุงเทพฯ)

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                         คณะ  ร่ายยาวมิได้บังคับจำนวนคำ  คือ  มีคณะไม่แน่นอนในวรรคหนึ่ง  อาจมีจำนวนคำตั้งแต่ 6 – 7 คำ  ไปจนถึง 15 คำ  แล้วแต่ความยาวและช่วงการหายใจครั้งหนึ่ง
                   สัมผัส  มีหลักว่าในคำท้ายของแต่ละวรรคเป็นตัวส่งสัมผัสคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปเป็นคำรับสัมผัส  ไม่แน่นอนว่าจะสัมผัสคำที่เท่าใด  ถ้าส่งวรรณยุกต์เอกก็ควรรับด้วยคำเอก  ส่งคำโทก็รับคำโท  แต่ไม่ถือเคร่งครัดนัก  คำที่รับสัมผัสอาจเป็นคำที่ 3 , ที่ 4 , คำที่ หรือคำที่ 10 แล้วแต่จะเหมาะสม
                   คำสร้อย  เนื่องจากร่ายยาวเป็นคำประพันธ์ที่นิยมแต่งเป็นกลอนสวดหรือกลอนเทศน์ใช้อ่านทำนอง  จึงมักจะมีคำสร้อยเมื่อจบบทหนึ่ง  เช่น  ฉะนี้  ดังนี้  นั้นเถิด  นั้น  แล  ด้วยประการฉะนี้  เป็นต้น  ไม่ถือเป็นเคร่งครัดจะมีหรือไม่มีก็ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น