วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ร่ายสุภาพ

              
          ร่ายเป็นคำประพันธ์ที่เก่าแก่ชนิดของไทย  ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  ร่ายเป็นชื่อของคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง  ซึ่งไม่กำหนดว่าจะต้องมีบทหรือบาทเท่านั้นเท่านี้  จะแต่งยาวเท่าไรก็ได้  เป็นแต่ต้องเรียงคำให้คล้องจองกันตามข้อบังคับเท่านั้น  ลักษณะบังคับต่างๆใช้อย่างเดียวกับโคลงสองและโคลงสาม  ในตำราชุดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาของคุรุสภา  ให้ความหมายของคำว่าร่าย  คือคำประพันธ์ที่ส่วนมากใช้บรรยายเรื่องสัมผัสต่อกันไปทุกวรรค  จะแต่งให้สั้นยาวเท่าใด  ก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อความที่แต่ง
ซึ่งร่ายนั้นมีหลายประเภทแบ่งออกเป็น
    ร่ายสุภาพ

รูปแบบผังทางฉันทลักษณ์ของร่ายสุภาพ

 

เช่น

                   ธ  มิอาจจะดำรง          พระองค์ท้าย  ธ  อยู่ได้          ไห้สยบซบเหนือหมอน

พระกรปิดพระพักตร์                     ไห้ร่ำรักลูกไท้

ไห้บ่รู้กี่ไห้                                      ลูกแก้วกับตน                       แม่เอยฯ

(ลิลิตพระลอ)

ลักษณะทางฉันทลักษณ์

                         คณะ  ร่ายสุภาพ บท  มีตั้งแต่ วรรคขึ้นไป  วรรคหนึ่งมี คำ  บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้  ลงท้ายจะต้องจบด้วยโคลงสี่สุภาพ
                     สัมผัส  จากวรรคหน้าไปยังสัมผัสรับในคำที่ 1 , 2 หรือ ของวรรคต่อไป  วรรคที่อยู่ข้างหน้าของ วรรคสุดท้าย  จะส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1 , 2 หรือ ของบาทต้นในโคลงสองสุภาพ
                   คำสร้อย  เติมได้ คำท้ายบท  เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพในร่ายสุภาพของโคลงโบราณ  มีคำสร้อยปรากฏสลับแต่ละวรรคด้วย
                   ร่ายสุภาพ  เป็นร่ายที่นิยมแต่งเพราะ  มีความไพเราะมีลีลาราบรื่น  มีจังหวะสัมผัสและระเบียบแบบแผนกว่าร่ายชนิดอื่น  ปรากฏครั้งแรกในลิลิตพระลอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น